google-site-verification: googled197abeedb711a60.html
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ร้านผลิตแผ่นซีดี แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ร้านผลิตแผ่นซีดี แสดงบทความทั้งหมด

** มีเดีย วัลเลย์ ** cd dvd คืออะไร รูปแบบต่างๆ ที่ผลิตซีดี จำหน่ายในท้องตลาด




cd dvd ราคา ล่าสุด ,cd dvd ราคา ถูก , ราคา โน๊ ต บุ๊ค cd dvd , ราคา มือ ถือ cd dvd , ราคา ดีวีดี คอมพิวเตอร์ , cd dvd เปรียบเทียบcd dvd ราคา ล่าสุด ,cd dvd ราคา ถูก , ราคา โน๊ ต บุ๊ค cd dvd , ราคา มือ ถือ cd dvd , ราคา ดีวีดี คอมพิวเตอร์ , cd dvd เปรียบเทียบ
รับผลิตดีวีดี ของชำร่วย ซีดี งานแต่งงาน ซีดีแจก ขึ้นบ้านใหม่ ซีดีทำบุญบ้าน ซีดีแจกญาติธรรม

แผ่น CD (Compact Disk)

ใช้สำหรับเก็บข้อมูล ในระบบ ดิจิตอล (Digital) ถูกประดิษฐ์คิดค้นโดย Phillips และ Sony

แผ่น CD-ROM (Compact Disc-Read Only Memory)

เป็น แผ่นซีดี ที่ใช้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูล ทับข้อมูลเดิมที่มีอยู่ ก่อนได้ ภายในแผ่นจะมีข้อมูลที่บรรจุอยู่ภายในแผ่นเรียบร้อยแล้ว เช่น พวก ซีดีเพลง ซีดีซอร์ฟแวร์ ซีดีเกม

ประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 3 ชั้น ได้แก่

1.ชั้นพลาสติกโพลิคาร์บอเนต (polycarbonate) เป็นโครงสร้างหลักและเป็นชั้นบรรจุข้อมูลโดยข้อมูลจะอยู่ในรูปของหลุมหรือพิท (pit) และพื้นหรือแลนด์ (land)

2.ชั้นโลหะอะลูมิเนียม (หรือเงินหรือทอง) เป็นชั้นโลหะที่ทำหน้าที่สะท้อนแสงเลเซอร์ในเครื่องเล่น

3.ชั้นแล็คเกอร์ (lacquer) เป็นชั้นโพลิเมอร์ที่ใช้ป้องกันชั้นเคลือบโลหะ และใช้พิมพ์ข้อความหรือภาพลงบนแผ่น


แผ่น CD-R (Compact Disc-Recordable)

เป็น แผ่นซีดี ที่สามารถบันทึกข้อมูลบนแผ่นได้จนกว่าจะเต็มแผ่น และตำแหน่งที่บันทึกข้อมูลไปแล้วไม่สามารถทำการบันทึกซ้ำได้อีก ไม่สามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลได้ มีขนาดความจุ 700MB

โครงสร้างของแผ่นซีดีอาร์มี 4 ชั้นด้วยกัน โดยชั้นที่เพิ่มขึ้นมาอีก 1ชั้น จากแผ่นซีดีรอม

คือ ชั้นสีอินทรีย์ (organic dye) เป็นชั้นที่ใช้บันทึกข้อมูลบนแผ่นซีดี

แผ่น CD-RW (Compact Disc-Rewritable)

เป็นแผ่นที่เมื่อบันทึกข้อมูลไปแล้วสามารถลบข้อมูลเก่าบนแผ่นแล ะบันทึกข้อมูลใหม่ได้ การบันทึกของแผ่น CD-RW จะเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า multi-sessions

เทคโนโลยีของ CD-RW จะแตกต่างจาก CD-R เนื่องจากต้องมีการบันทึกซ้ำ สารเคมีที่เคลือบบนแผ่น CD-RW จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อได้รับความร้อนถึงจุด ๆ หนึ่ง สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 1,000 ครั้ง มีขนาดความจุ 700MB

แผ่น CD-R Light Scribe

เป็นแผ่นที่สามารถบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นได้คล้ายแผ่น CD-R แต่ได้เพิ่มเทคโนโลยี Light Scribe สร้างลวดลายโดยอาศัยแสงเลเซอร์เขียนลงไปที่แผ่นซึ่งอาบด้วยสารเ คมีพิเศษสีทองซึ่งจะทำให้เปลี่ยนเป็นรอยจุดสีดำซึ่งมีความละเอียดสูง สามารถสร้างสรรค์ทั้งข้อความและรูปภาพลวดลายลงบนแผ่น Disc ได้ โดยไม่ต้องใช้เครื่อง Printer ทำให้แผ่นที่ได้มีความสวยงามและมีคุณค่า

แผ่น CD-R Printable

เป็นแผ่นที่สามารถบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นได้คล้ายแผ่น CD-R แต่สามารถพิมพ์ลวดลายลงบนแผ่นโดยตรงโดยใช้เครื่อง Printer Inkjet

แผ่น Mini CD-R (Mini Compact Disc-Recordable)

เป็นแผ่นซีดีขนาดเล็ก พกพาสะดวก (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 ซม.) ขนาดความจุข้อมูล 185-200MB น้อยกว่าซีดีธรรมดา

แผ่น CD Card

เป็นแผ่นซีดี มีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงกับนามบัตร ปัจจุบัน ได้มีรูปแบบออกมาเพิ่มเติมตามแต่จะดีไซน์
เช่น รูปทรงเหมือนรถ รูปคน โดยทำการไดคัท ตามแบบ แล้วหาจุดสมดุลของ gravity spin ตอนเครื่องเล่นอ่านซีดี เพราะถ้าขาดความสมดุล แผ่นซีดี จะไม่สามารถอ่านได้ ในเมืองไทยยังไม่มีผู้ผลิตรูปทรงได้คัทตามแบบ ดังกล่าว

DVD

เนื่องจากขนาดข้อมูลที่ต้องการเก็บมีมากขึ้น การพัฒนาความสะดวกในการใช้งาน และความรวดเร็วในการอ่านข้อมูล จึงทำให้คุณสมบัติของแผ่นซีดีเริ่มไม่เพียงพอกับความต้องการ ผู้ผลิตจึงคิดค้นเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบใหม่ นั่นก็คือดีวีดี ซึ่งใช้เทคโนโลยีการจัดเก็บแบบออปติคอล (Optical Disc) โดยดีวีดี 1 แผ่นจะมีความจุเท่ากับ ซีดี 7 แผ่น และ เท่ากับฟล๊อปปี้ดิสก์ 3,357 แผ่น

สาเหตุที่ทำให้ แผ่นดีวีดี มีความจุมากกว่า แผ่นซีดี นั้นมีดังนี้

1. โครงสร้างของการจัดเก็บข้อมูลภายในของดีวีดีที่มีขนาดเล็กกว่าจึงจุได้อัดแน่นมากกว่า
2. การใช้แสงเลเซอร์อ่านข้อมูลที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่านั่นคือ ดีวีดีใช้แสงเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น
    แค่ 635-650 นาโนเมตรขณะที่ซีดีใช้เลเซอร์ที่มีความยาวกว่าในระดับ 750 นาโนเมตร
3. แผ่นดีวีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ 2 ชั้น (Layer) ในขณะที่แผ่นซีดีจะเก็บข้อมูลได้เพียงชั้นเดียว


ทำความรู้จักกับ DVD

DVD ย่อมาจาก Digital Video Disc ต่อมาได้เปลี่ยนนิยามใหม่ตามการบัญญัติศัพท์จาก ราชบัณ-
ฑิตยสถาน ให้ DVD ย่อมาจาก Digital Versatile Disc หมายถึงแผ่นดิจิตอลอเนกประสงค์ ซึ่งในปัจจุบันเป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่ค่อนข้างแพร่หลาย และได้รับความนิยมมากกว่าสื่อประเภทอื่นๆ


ประเภทของแผ่น DVD

ราคาของสื่อบันทึกชนิด DVD ในทุกวันนี้ได้เข้าถึงผู้ใช้ตามบ้านมากขึ้น จนบางครั้งเราอาจสับสนระหว่างชนิดของสื่อบันทึกในเวลาที่เราจะต้องเลือก บทความนี้จะอธิบายถึงสื่อบันทึก DVD ที่มีใช้กันตามท้องตลาด เพื่อให้เราได้ใช้สื่อบันทึก DVD อย่างเต็มประสิทธิภาพของการใช้งานมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้านความบันเทิง หรือด้านข้อมูล เช่น การ backup ข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ซึ่งสามารถแบ่งชนิดออกได้เป็นดังนี้

DVD-ROM

เป็นฟอร์แมตของแผ่น DVD ที่เอาไว้บันทึกข้อมูลได้อย่างเดียวเหมือนแผ่น CD-ROM สามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 4.7 GB ถึง 17 GB ตามแต่จำนวน layer และด้านของแผ่น DVD แผ่นแบบนี้จะสามารถใช้งานได้กับ DVD-ROM Drive ทั่วๆไป เครื่องคอมพิวเตอร์จะมองเห็นแผ่น DVD-ROM เป็นไฟล์ข้อมูลเหมือนกับแผ่น CD-ROM นั่นเอง

DVD-R (DVD Recordable)

เป็นแผ่น DVD ที่สามารถบันทึกข้อมูลลงไปได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น(ลองนึกถึงแผ่น CD-R ดูนะครับ)แผ่น DVD-R จะมีความจุ 4.7GB ต่อ 1 หน้า ซึ่งปัจจุบันเครื่อง DVD-Writer และแผ่น DVD-R มีจำหน่ายเพียงชนิดหน้าเดียวเท่านั้น จึงมีความจุสูงสุดต่อแผ่นอยู่ที่ 4.7GB สามารถแบ่งการใช้งานออกเป็น 3 แบบ คือ

DVD-R for general purpose, DVD-Video ซึ่งสองแบบนี้มีความจุสูงสุด 4.7GB ส่วนอีกแบบคือ

DVD-R for Authoring นั้นมีความจุสูงสุดอยู่ที่ 3.95GB โดยที่แผ่นตระกูล -R นั้นสามารถเล่นได้ดีกับเครื่องเล่นดีวีดีตามบ้านเราทั่วไปแต่เขียนได้ครั้งเดียวและบันทึกซ้ำบนพื้นที่เดิมไม่ได้ เลยทำให้เครื่องเล่นดีวีดีตามบ้านเรารุ่นเก่าๆส่วนใหญ่จะเล่นได้เฉพาะแผ่นที่เป็น -R เท่านั้น แต่สำหรับคนที่ใช้พีซีนั้นเดี๋ยวนี้ไดรฟ์ดีวีดีมักจะเป็นแบบ Super Multi ที่ทั้งเขียนและอ่านได้ทั้งแผ่น DVD-R/-RW และ

DVD+R/+RW ทำให้ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการเลือกแผ่น ซึ่งทำให้ DVD-R เหมาะสำหรับการนำมา Write File ทางด้านบันเทิงเป็นส่วนใหญ่

DVD-RW (DVD Re-Recordable)

เป็นแผ่น DVD ที่สามารถเขียนและลบข้อมูลได้หลายครั้ง ประมาณ 1,000 ครั้ง (ลองนึกถึงแผ่น CD-RW ดู) มีความจุ 4.7GB เท่ากับ DVD-R ในฟอร์แมต DVD-RW นี้ต้องทำการเขียนและลบทั้งแผ่นในคราวเดียวกัน เช่นเดียวกับแผ่น CD-RW ขอให้สังเกตนะครับว่า DVD-RW นั้นย่อมาจากคำเต็มคือ DVD Re-Recordable สามารถบันทึกซ้ำได้นั่นเอง แผ่น DVD-RW จะต้องใช้กับเครื่องบันทึกแผ่น DVD-RW เท่านั้นจึงจะสามารถบันทึกได้ แต่ในขณะเดียวกันเครื่องบันทึกแผ่น DVD-RW จะสามารถบันทึกแผ่น DVD-R, CD-R และ CD-RW ได้ด้วย และทำนองเดียวกันแผ่น DVD-R, DVD-RW ก็ยังสามารถเล่นได้กับเครื่องเล่น DVD ในรุ่นใหม่ๆได้อย่างไม่มีปัญหาแต่กับรุ่นเก่าๆยังไม่สามารถใช้กันได้

ในการบันทึกของแผ่น DVD-RW นั้น เมื่อคุณได้บันทึกข้อมูลทั้งหมดลงในแผ่นจนเสร็จสิ้นแล้ว หากจำเป็นต้องบันทึกข้อมูลอีกครั้งในแผ่นเดิม คุณจะต้องฟอร์แมทแผ่น DVD-RW ดังกล่าวก่อนที่จะมีการบันทึกซ้ำ ซึ่งจะทำให้ข้อมูลเดิมที่อยู่ในแผ่นนั้นหายไปด้วย


DVD+R / DVD+RW (DVD+ReWritable)

แผ่นดีวีดีชนิดบันทึกได้ 3 แบบที่กล่าวไปแล้ว (DVD-R, DVD-RW และ DVD-RAM) ได้รับการพัฒนาขึ้นจากกลุ่ม DVD Forum ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัยร่วมกันของบริษัทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหญ่ๆ จากทั่วโลก
แต่ในขณะเดียวกัน ทาง HP, Sony และ Philips รวมทั้งอีกหลายๆ บริษัทย่อยๆ ได้หันมาตั้งกลุ่มพัฒนารูปแบบของ DVD ใหม่ ที่เรียกว่าเป็นแผ่นบวก DVD+RW ซึ่งกลุ่มใหม่นี้ มีความเห็นว่า DVD-RAM
ยังเก่งไม่พอไม่สามารถเข้ากับเครื่องอ่าน DVD ได้ทุกประเภท เนื่องจากไม่สามารถที่จะแยกตลับ
หรือ cartridge ออกมาได้ รูปแบบ DVD+RW ที่พัฒนามาใหม่นี้จะรองรับการเขียนข้อมูลแบบ random access เช่นเดียวกับ DVD-RAM และมีความจุ 4.7GB ด้วย ที่สำคัญคือไม่ต้องใช้ตลับหรือ cartridge
ให้ยุ่งยากเลย ส่วนแผ่นDVD+R ก็คือแผ่นที่สามารถบันทึกได้ครั้งเดียวเท่านั้น ทุกวันนี้ DVD ทุกรูปแบบต่างก็ได้รับการยอมรับจากบุคคลทั่วไป และยังมองไม่ออกว่า รูปแบบไหนจะเป็นมาตรฐานหลัก เพราะยังมีส่วนแบ่งในการตลาดกันค่อนข้างมากทั้งหมด งานนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ผลิต DVD-Writer ว่าจะผลิตออกมารองรับกี่รูปแบบ


DVD+R

DVD+R มีลักษณะเหมือนกับ DVD-R มีเนื้อที่ 4.7 GB ในบางครั้งก็ผลิตมาเพื่อความแตกต่างทางการค้า แม้ว่าจะมีความจุและการทำงานที่เหมือนกัน แผ่น DVD+R อาจต้องใช้เครื่องบันทึก DVD+R โดเฉพาะ
เช่นเดียวกับแผ่น DVD-R ที่สามารถบันทึกโดยใช้เครื่องบันทึก DVD-R โดยเฉพาะเช่นเดียวกัน

สื่อบันทึก 2 ชนิดนี้ อาจผลิตขึ้นมาเพื่อแข่งกันทำตลาด บางครั้งเราเรียกกันว่าเครื่องบันทึก DVD R
ในทางปฏิบัติ ความแตกต่างระหว่างสื่อ DVD+R กับ DVD-R อย่างหนึ่งคือ DVD+R จะอ่านได้เร็วกว่า DVD-R ความแตกต่างนี้จะรู้สึกได้ก็ต่อเมื่อเราบันทึกไฟล์ทั่วๆไป เช่น ไฟล์ประเภทข้อมูลเพราะสามารถ write ต่อเนื่องไปเรื่อยๆจนกว่าหมดแผ่น ดังนั้นถ้าคุณใช้มันบันทึกไฟล์ทางด้านบันเทิง ประสิทธิภาพของมันก็จะเท่ากันและอาจไม่สามารถเปิดได้กับเครื่องเล่นทั่วๆไป

DVD+RW

DVD+RW เป็น DVD+R ชนิดที่บันทึกซ้ำได้ และทุกอย่างที่ DVD+R มีก็มีใน DVD+RW เช่นเดียวกัน เครื่องเล่น DVD ชนิดใหม่ๆจะสามารถอ่านแผ่น DVD+RW ได้ มีเครื่องบันทึก DVD ตามท้องตลาดบางชนิด สามารถบันทึกได้ทั้งแผ่น DVD-RW และ DVD+RW เครื่องบันทึกชนิดนี้เรียกว่า DVD RW การทำงานของมันเหมือนกับแผ่น DVD-RW คือเมื่อเราบันทึกข้อมูลด้วยแผ่น DVD+RW เสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องการนำแผ่น DVD+RW มาบันทึกซ้ำ จะต้องฟอร์แมทแผ่นก่อนจึงจะสามารถบันทึกใหม่ได้ ซึ่งข้อมูลเดิมทั้งหมดจะถูกลบทิ้งไป โดยทั่วไปเครื่องบันทึกแผ่น DVD+RW จะสามารถอ่านแผ่น DVD-RW ได้ แต่ไม่สามารถบันทึกได้

รูปแบบการบันทึกข้อมูลของ DVD

ในการเก็บข้อมูลของ DVD นั้น จะบันทึกเป็น layer ซึ่งมีทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ซึ่งปัจจุบันนั้นในแต่ละชั้นจะสามารถจุได้ถึง 15 GB/Layer และคาดว่าจะพัฒนาได้ถึง 45 GB/Layer ข้อมูลที่ถูกบันทึกลงไปก็จะมีจำนวนมากน้อยไม่เท่ากันตามมาตรฐานดังนี้


รูปแบบ โครงสร้าง ความจุ(GB)
DVD-5 Single Side / Single Layer 4.7
DVD-9 Single Side / Dual Layer 8.54
DVD-10 Double Side / Single Layer 9.4
DVD-18 Double Side / Dual Layer 17.08